1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ปัญหาอุทกภัยและภัยธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจนเกิดเป็นวิถีชีวิตใหม่ (New normal) สำหรับประเทศไทยต้องมีการปรับตัวกับความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) หรือ VUCA World ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ จนส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต พบว่าปัญหาสุขภาพที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ได้แก่ แนวโน้มเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น และเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) การคิดสร้างสรรค์นวัตวิถี จะช่วยนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ เกิดสุขภาวะที่ดี และมีความปลอดภัยในชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยพบว่าการคิดริเริ่มสร้างสรรค์บนพื้นฐานการวิจัย จะช่วยนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคมให้เกิดการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มุ่งผลิตบัณทิตที่มีคุณภาพ เป็นผู้นำการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน จัดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตร ที่มีการผลิตผลงานวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นด้านพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนเป็นหลัก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นเพื่อให้ท้องถิ่น ชุมชน และสังคม ได้ตระหนักเกี่ยวกับปัญหาและภาวะการณ์ทางด้านสุขภาพ จึงได้จัดการประชุมวิชาการคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายครั้งที่ 3 “นวัตวิถีสุขภาพ การสร้างสุขภาวะ และความปลอดภัยอย่างยั่งยืน” เพื่อเป็นเวทีในการการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน อีกทั้งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ และนำเสนอผลการศึกษาวิจัยในช่วงที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย บุคลากร นักศึกษาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ และส่งเสริมให้มีการนำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตวิถีสุขภาพไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ
2.2 เพื่อยกย่องและส่งเสริมขวัญกำลังใจให้แก่นักวิจัย และนักศึกษาในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและคุณค่า ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมต่อไปในอนาคต
2.3 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ
3. ระยะเวลา
1 มิถุนายน 2568
4. สถานที่
รูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom
5. หน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ
สภาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
สมาคมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเชียงราย
สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงราย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
6. กลุ่มเป้าหมาย
6.1 ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันระดับอุดมศึกษา
6.2 ผู้เข้าร่วมประชุมจากองค์กรชุมชน โรงเรียน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรจากภาครัฐ และเอกชน
6.3 ประชาชนผู้สนใจทั่วไป
7. รูปแบบการจัดงานประชุม
7.1 การบรรยายพิเศษ (Keynote Lecture)
7.2 การนำเสนอผลงานวิจัยด้านสุขภาพและด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในภาคบรรยาย (Oral Presentation)
8. ประเด็นการนำเสนอผลงานวิจัย
โดยผลงานดังกล่าวจะต้อง ไม่เคยเผยแพร่มาก่อนและหัวข้อเกี่ยวข้องกับประเด็นการนำเสนอ ได้แก่
8.1 ด้านสาธารณสุข เช่น การเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การให้บริการทางการแพทย์โภชนาการ ระบาดวิทยา การพัฒนาอนามัยชุมชน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
8.2 ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น อาชีวเวชศาสตร์ สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม การยศาสตร์และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
8.3 ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 การเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานวิจัยทางวิชาการในด้านสุขภาพ
9.2 สามารถกระตุ้นให้คณาจารย์ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ด้านงานวิจัยทางด้านสุขภาพ
9.3 สร้างเครือข่ายการวิจัยกับหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น
10. รูปแบบการตีพิมพ์เผยแพร่
เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceeding) ทางออนไลน์ภายหลังจาก วันนำเสนอไม่เกิน 1 สัปดาห์
11. การพิจารณาผลงาน
นำเสนอผลงานและเผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceeding) ดังนี้
11.1 คณะกรรมการพิจารณาเลือกกลุ่มการนำเสนอและประเภทของการนำเสนอเบื้องต้น
11.2 กรณีนำเสนอผลงานสำหรับบุคคลทั่วไป พิจารณาผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ (Peer review) โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก จำนวน 3 ท่าน และประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด
11.3 กรณีนำเสนอผลงานสำหรับนักศึกษาพิจารณาผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ (Peer review) โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่าน และประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด
11.4 พิจารณามอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้นำเสนอผลงานที่มีผลงานในระดับดีเด่น ระดับดี และระดับชมเชย โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายในร่วมประเมินผลงานที่นำเสนอทั้งภาคบรรยาย (Oral Presentation)
12. การสมัครและลงทะเบียน
ติดตามรายละเอียดการประชุม การสมัคร และการลงทะเบียนได้ที่ LINK
13. การเตรียมบทความต้นฉบับ (Full paper)
13.1 การส่งต้นฉบับ ผู้นำเสนอผลงานจะต้องส่งต้นฉบับแบบพิมพ์ ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์นามสกุล“.doc” (MS Word) ในระบบการลงทะเบียน LINK
13.2 ผู้นำเสนอผลงาน สามารถดูรายละเอียดรูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม (Full Paper) ได้ที่ LINK
14. กำหนดการจัดกิจกรรม
ลำดับ |
กิจกรรม |
ระยะเวลา |
1 |
ประชาสัมพันธ์ |
20 ธันวาคม 2567 – 15 มีนาคม 2568 |
2 |
ลงทะเบียนและเปิดรับผลงาน |
20 ธันวาคม 2567 – 31 มีนาคม 2568 |
3 |
ปิดรับผลงานวิจัย |
31 มีนาคม 2568 |
4 |
นำเสนอผลงานวิจัย |
1 มิถุนายน 2568 |
5 |
การตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ Proceedings |
ภายในวันที่ 8 มิถุนายน 2568 |
15. อัตราค่าลงทะเบียน
ประเภท |
อัตราค่าลงทะเบียน |
ชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า (Early bird)
สำหรับนำเสนอแบบบรรยายสำหรับบุคคลทั่วไป
ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2568
|
2,000 |
ชำระค่าลงทะเบียนแบบปกติ
สำหรับนำเสนอแบบบรรยายสำหรับบุคคลทั่วไป
หลังวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2568
|
2,500 |
ชำระค่าลงทะเบียนแบบปกติ
นำเสนอแบบบรรยายสำหรับนักศึกษา
ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568
|
1,000 |
หมายเหตุ
1. คณะกรรมการ ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าลงทะเบียน ไม่ว่ากรณีใด ๆ
2. อัตราค่าลงทะเบียนนี้รวมค่าพิจารณาคุณภาพบทความเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
3. ใบเสร็จในการลงทะเบียนท่านจะได้รับทางไปรษณีย์ ภายหลังจากท่านลงทะเบียน 15 วัน
16. กำหนดส่งบทความ
16.1 เปิดรับบทความวิจัยฉบับเต็มพร้อมลงทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2567 จนถึง วันที่ 31 มีนาคม 2568
16.2 แจ้งผลการตอบรับการนำเสนอผลงานวิจัย ภายใน 5 วัน หลังจากการส่งบทความวิจัย
16.3 การลงทะเบียนชำระเงินภายหลังจากการตอบรับการนำเสนอผลงานวิจัย ภายใน 15 วัน
16.4 ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ภายใน 15 วัน หลังจากชำระค่าลงทะเบียน
16.5 ผู้นำเสนอส่งต้นฉบับบทความวิจัยที่แก้ไขสมบูรณ์แล้ว ภายใน 15 วันหลังได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
16.6 ลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมแต่ไม่นำเสนอผลงานวิจัยตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2568
17. การชำระค่าลงทะเบียน
โดยชำระผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด เลขที่บัญชี 422-1-41810-7 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการระดับชาติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ครั้งที่ 3 พร้อมทั้งแนบหลักฐานการชำระเงินในระบบ
18. การติดตามข้อมูลข่าวสาร
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ Link สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โทรศัพท์หมายเลข 053-776526 หรือ 088-261-3144 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุสรา บุญจิตร) 085-615-6541 (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์) E-mail: phcrru@gmail.com และ Line : .........(อยู่ในระหว่างดำเนินการ).................